ประวัติโรงเรียน
ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนศิริเสนาวิทยา เป็นโรงเรียนเอกชน ประเภทสามัญ ขนาดกลาง ตั้งอยู่เลขที่ 22 ถนนบางเอียน ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สังกัดสำนักบริหารงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เดิมชื่อโรงเรียนรัตนประสาท ได้รับการโอนกิจการจากนายเยี่ยม วิภารัตน์ ในปี พ.ศ. 2533 และนายชุบ วงษ์จตุรภัทร เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2534 และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนศิริเสนาวิทยา เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ.2534 โดยมีนางสาวสมจิตร ศิริเสนา เป็นผู้รับใบอนุญาต นายสำราญ ศิริเสนา เป็นผู้จัดการ และนางสาวสมศรี พุ่มเกษม เป็นครูใหญ่ โรงเรียนศิริเสนาวิทยามีเนื้อที่ 2 ไร่ 2 งาน 91.60 ตารางวา มีอาคารเรียน 1 หลัง เป็นอาคารคอนกรีีตเสริมเหล็ก 3 ชั้น อาคารประกอบ 1 หลัง เป็นอาคารสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ และอาคารเอนกประสงค์ (โรงอาหาร) เปิดทำการสอนตั้งแต่ระดับก่อนประถม ถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีนักเรียนจำนวน 550 คน ครูผู้สอนจำนวน 21 คน นักการภารโรงจำนวน 2 คน

พ.ศ.2537 ได้ขอยุบชั้นเรียนระดับประถมศึกษา และระดับมัธยมศึกษา เนื่องจากใช้อาคารเรียนเปิดทำการสอนระดับอาชีวศึกษา

พ.ศ.2538 ได้รับอนุญาตให้เปิดขยายชั้นเรียนระดับประถมศึกษาเหมือนเดิม ปัจจุบัน โรงเรียนศิริเสนาวิทยา ได้เปิดทำการสอนระดับก่อนประถมศึกษา (ชั้นอนุบาลปีที่ 1-3) ถึงระดับชั้นประถมศึกษา (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6) โดยมีนางสาวสมจิตร ศิริเสนา เป็นผู้รับใบอนุญาต เป็นผู้จัดการ และมีนายสำราญ ศิริเสนา เป็นผู้จำนวยการโรงเรียน

สีประจำโรงเรียน คือ สีเขียว-ขาว ซึ่งสีเขียว หมายถึง การเจริญงอกงาม สีขาว หมายถึง ความสะอาดบริสุทธิ์ รวมแล้วหมายถึง การมุ่งหมายของโรงเรียนที่จะผลิตนักเรียนที่มีความรู้ความสามารถในด้านวิชาการ ขณะเดียวกันก็เพรียบพร้อมไปด้วยคุณธรรม พร้อมที่จะเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมต่อไป

ตราประจำโรงเรียน

ด้านบน - เป็นสัญลักษณ์ตราประจำจังหวัดรูปปราสาทสังข์ใต้ต้นหมัน 

ด้านวงกลม - เป็นสัญลักษณ์วงล้อธรรมจักรล้อมรอบด้วยลายไทยรูปรวงข้าว 

ด้านล่าง - เป็นข้อความชื่อโรงเรียนในกรอบลายไทย

บ่งบอกถึง โรงเรียนได้นำวัฒนธรรมท้องถิ่นของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คำขวัญจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อู่ข้าว อู่น้ำ (รวงข้าวลายไทย) และวงล้อธรรมจักรมารวมในการกำหนดนโยบายการจัดการศึกษาให้นักเรียน อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และมีพฤติกรรมตามหลัก คุณธรรมทางศาสนา เก่ง ดี มี สุข และยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง